แสมดำ
สถานีวิทยุศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ประวัติ สถานีเครื่องส่งวิทยุศึกษา
ระบบ เอ-เอ็ม ความถี่ 1161 กิโลเฮิรตซ์ กำลังส่ง 20 กิโลวัตต์ ต.แสมดำ เขตบางขุนเทียน กทม.
ระบบ เอฟ-เอ็ม ความถี่ 92 เม็กกะเฮิรตซ์ กำลังส่ง 5 กิโลวัตต์ ณ อาคาร ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
- 2495 แผนกช่างวิทยุ
- 2496 ทดลองส่งกระจายเสียงที่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ทุ่งมหาเมฆ ความถี่ 1160 กิโลเฮิรตซ์ กำลังส่ง 250-500 วัตต์ สร้างโดยคณาจารย์และนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคฯส่งกระจายเสียงในนามกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ 1 มกราคม 2497 เวลา 15.32 น.
- 2498 สร้างห้องสตูดิโอเสียงแบบถาวร ที่ชั้น 2 ตึกอำนวยการกระทรวงศึกษาธิการ
- 2500 สร้างเครื่องส่ง 3.202 เม็กกะเฮิรตซ์ กำลังส่ง 2 กิโลวัตต์
- 2503 เพิ่มกำลังส่งเป็น 10 กิโลวัตต์
- 2507 เปลี่ยนชื่อแผนกช่างวิทยุ เป็น แผนกช่างอิเล็คทรอนิคส์
- 2510 ประเทศออสเตรเลียได้ช่วยเหลือตามแผนการโคลัมโบ มอบเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงระบบ เอ-เอ็ม ที่ ความถี่ 1160 กิโลเฮิรตซ์ กำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ เสาอากาศแบบสลิงยึด สูง 125 เมตร ให้แก่กองเผยแพร่การศึกษา ออกอากาศปีการศึกษา 2511
- 2511 สร้างเครื่องส่ง เอฟ-เอ็ม กำลังส่ง 1 กิโลวัตต์และทดลองออกอากาศ เพื่อใช้ถ่ายทอดรายการวิทยุศึกษา ที่อาคารวิทยุศึกษา (ปัจจุบันเป็นอาคารการศึกษาทางไกลหน้าตึก กศน.ในกระทรวงศึกษาธิการ) ไปยังเครื่องส่งวิทยุที่เทคนิคกรุงเทพฯ ทุ่งมหาเมฆ
- 2514 กลางปี วิทยุศึกษา กองเผยแพร่การศึกษา คณะอาจารย์และนักศึกษาแผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ สร้างเครื่องส่งระบบ เอฟ-เอ็ม กำลังส่ง 1 กิโลวัตต์
- 2524 – 2527 กระทรวงศึกษาธิการร่วมมือกับกรมประชาสัมพันธ์ จัดสร้างเครือข่ายวิทยุการศึกษาแห่งชาติ วิทยุโรงเรียน ปรับเปลี่ยนออกอากาศทางสถานีวิทยุแห่งประเทศไทยเพื่อการศึกษา (สถานีแม่ข่ายอยู่ที่ ซอยอารีย์สัมพันธ์ กทม.) ผลิตรายการและส่งสัญญาณรายการที่ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา พญาไท กทม. ใช้งบประมาณและเงินยืมจากธนาคารโลก IDA (International Development Association)
- ปัจจุบัน ศูนย์ผลิตรายการวิทยุ อุปกรณ์ผลิตรายการ และเครื่องส่งวิทยุระบบ เอฟ-เอ็ม ความถี่ 92 เม็กกะเฮิรตซ์ กำลังส่ง 5 กิโลวัตต์ อยู่ที่อาคาร ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
ส่วนเครื่องส่งวิทยุระบบ เอ-เอ็ม ความถี่ 1161 กิโลเฮิรตซ์ กำลัง 20 กิโลวัตต์ อยู่ที่ ต.แสมดำ เขตบางขุนเทียน กทม. พื้นที่ 38 ไร่ (เช่าที่ดินของกรมการศาสนา)